เทคโนโลยีจากหนังที่กลายเป็นจริง
https://outdoclub.blogspot.com/2014/02/Technology-from-Movie-that-became-reality.html
เทคโนโลยีจากหนังที่กลายเป็นจริง
สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, หุ่นยนต์ ฯลฯ ที่เคยเป็นแค่จินตนาการจากในหนัง กลายมาเป็นเทคโนโลยีที่สัมผัสได้จริงแล้ววันนี้..
มีคนเคยพูดไว้ว่าชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย แต่ในบางครั้งนิยายก็กลายเป็นต้นแบบของชีวิตจริงได้ด้วยเช่นกัน เหมือนอย่างที่บรรดาหนังดังจากวงการฮอลลีวูดได้วาดภาพถึงอนาคตที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีสุดล้ำ ทำให้เราได้แต่เฝ้าฝันว่าสักวันจะได้สัมผัสของจริง โดยเฉพาะกับภาพยนตร์ไซไฟหลาย ๆ เรื่องดังต่อไปนี้ ที่แม้ในเราจะยังไม่ได้อาศัยอยู่บนสถานีอวกาศ แต่ก็มีอุปกรณ์ตั้งหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ, เครื่องแปลภาษา และหุ่นยนต์สุดล้ำต่าง ๆ นานาที่สามารถหาทางทะลุแผ่นฟิล์มออกมาโลดแล่นรอบตัวเราได้แล้วในทุกวันนี้คลิกต่อไปดูหนังหลาย ๆ เรื่องที่เป็นต้นแบบของเทคโนโลยีหลายต่อหลายอย่างให้เราได้มีใช้กันในทุกวันนี้...
Total Recall (1990)
Total Recall (1990) |
สิ่งที่กลายเป็นจริง: Skype, เครื่องสแกนร่างกาย
ในปี 2010 เครื่องสแกนร่างกายถูกนำมาใช้จริงในสนามบินหลาย ๆ แห่งทั่วโลก ในขณะที่หลาย ๆ คนมัวตั้งคำถามในเรื่องของการละเมิดความเป็นส่วนตัว คอหนังไซไฟก็ได้แต่ยิ้มสบายใจเพราะพวกเขาเคยเห็นเทคโนโลยีแบบนี้มาแล้วตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน จากในหนังเรื่อง Total Recall ฉบับดั้งเดิมของผู้กำกับ Paul Verhoeven หนังเรื่องดังกล่าวนอกจากจะได้เห็นคนเหล็กของเราโชว์แอคชั่นมันระห่ำแล้ว ยังสามารถคาดการณ์อนาคตได้แม่นกว่าใคร ว่ายุคเราจะมีระบบแชทเห็นหน้าที่คล้าย ๆ กับ Skype ในทุกวันนี้
ในปี 2010 เครื่องสแกนร่างกายถูกนำมาใช้จริงในสนามบินหลาย ๆ แห่งทั่วโลก ในขณะที่หลาย ๆ คนมัวตั้งคำถามในเรื่องของการละเมิดความเป็นส่วนตัว คอหนังไซไฟก็ได้แต่ยิ้มสบายใจเพราะพวกเขาเคยเห็นเทคโนโลยีแบบนี้มาแล้วตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน จากในหนังเรื่อง Total Recall ฉบับดั้งเดิมของผู้กำกับ Paul Verhoeven หนังเรื่องดังกล่าวนอกจากจะได้เห็นคนเหล็กของเราโชว์แอคชั่นมันระห่ำแล้ว ยังสามารถคาดการณ์อนาคตได้แม่นกว่าใคร ว่ายุคเราจะมีระบบแชทเห็นหน้าที่คล้าย ๆ กับ Skype ในทุกวันนี้
Starship Troopers (1997)
Staeship Troopers (1997) |
สิ่งที่กลายเป็นจริง: ทีวีโต้ตอบได้
แม้ชื่อของ Paul Verhoeven จะไม่ใช่ผู้กำกับที่สร้างผลงานได้ประสบความสำเร็จเสมอไป แต่ความสามารถในการมองเห็นอนาคตของเขาก็ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยทีเดียว เพราะนอกจากในหนังเรื่อง Total Recall แล้ว หนังเรื่อง Starship Troopers ของเขายังพยากรณ์ถึงการมีทีวีที่สามารถโต้ตอบได้ ผ่านรายการทีวีเชิงเสียดสีต่อต้านสงคราม ด้วยคำโปรย "คุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือเปล่า?" ที่กลายเป็นไฮไลท์น่าจดจำของตัวหนังไปโดยปริยาย และทีวีโต้ตอบได้แบบในหนังเรื่องนี้เองที่ได้กลายมาเป็นสมาร์ททีวีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบในปัจจุบัน ที่เราสามารถเลือกดูรายการทีวีและโต้ตอบกับแอพหรือซอฟท์แวร์อื่น ๆ ได้อีกด้วย
แม้ชื่อของ Paul Verhoeven จะไม่ใช่ผู้กำกับที่สร้างผลงานได้ประสบความสำเร็จเสมอไป แต่ความสามารถในการมองเห็นอนาคตของเขาก็ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยทีเดียว เพราะนอกจากในหนังเรื่อง Total Recall แล้ว หนังเรื่อง Starship Troopers ของเขายังพยากรณ์ถึงการมีทีวีที่สามารถโต้ตอบได้ ผ่านรายการทีวีเชิงเสียดสีต่อต้านสงคราม ด้วยคำโปรย "คุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือเปล่า?" ที่กลายเป็นไฮไลท์น่าจดจำของตัวหนังไปโดยปริยาย และทีวีโต้ตอบได้แบบในหนังเรื่องนี้เองที่ได้กลายมาเป็นสมาร์ททีวีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบในปัจจุบัน ที่เราสามารถเลือกดูรายการทีวีและโต้ตอบกับแอพหรือซอฟท์แวร์อื่น ๆ ได้อีกด้วย
Star Trek: The Motion picture (1979)
Star Trek: The Motion picture (1979) |
สิ่งที่กลายเป็นจริง: การเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth, เครื่องพิมพ์ 3 มิติ, เครื่องแปลภาษา, โทรศัพท์มือถือฝาพับ, หัวฉีดยาไร้เข็ม
น่าเสียดายที่เรายังไม่สามารถ "วอร์ป" หรือเดินทางแบบฉับพลันได้แบบในเรื่อง Star Trek แต่ถึงอย่างนั้น ภาพยนตร์บนจอเงินเรื่องแรกของ Star Trek ก็ยังได้ฝากเทคโนโลยีที่กลายมาเป็นความจริงไว้ตั้งหลายอย่าง เช่นเครื่อง Replicators ที่เราเรียกว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติกันในทุกวันนี้ หรืออย่างเครื่องแปลภาษาที่มีให้โหลดเป็นแอพในสมาร์ทโฟนกันกลาดเกลื่อน เครื่องมือสื่อสารแบบเสียบหูของในหนังก็คล้าย ๆ กับชุดหูฟัง Bluetooth ของบรรดาหนุ่มสาวนักธุรกิจ มือถือฝาพับได้ก็มีจริงมานานจนเลิกฮิตไปแล้ว แถมยังมีเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง หัวฉีดยาไร้เข็ม ที่สามารถส่งตัวยาเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยไม่ต้องใช้เข็ม ไม่ต้องจิ้มให้เจ็บเลือดไหลอีกต่อไป ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าหลุดออกมาจากหนังเรื่อง Star Trek: The Motion picture ที่ออกฉายตั้งแต่ปี 1979 แล้วทั้งนั้น
น่าเสียดายที่เรายังไม่สามารถ "วอร์ป" หรือเดินทางแบบฉับพลันได้แบบในเรื่อง Star Trek แต่ถึงอย่างนั้น ภาพยนตร์บนจอเงินเรื่องแรกของ Star Trek ก็ยังได้ฝากเทคโนโลยีที่กลายมาเป็นความจริงไว้ตั้งหลายอย่าง เช่นเครื่อง Replicators ที่เราเรียกว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติกันในทุกวันนี้ หรืออย่างเครื่องแปลภาษาที่มีให้โหลดเป็นแอพในสมาร์ทโฟนกันกลาดเกลื่อน เครื่องมือสื่อสารแบบเสียบหูของในหนังก็คล้าย ๆ กับชุดหูฟัง Bluetooth ของบรรดาหนุ่มสาวนักธุรกิจ มือถือฝาพับได้ก็มีจริงมานานจนเลิกฮิตไปแล้ว แถมยังมีเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง หัวฉีดยาไร้เข็ม ที่สามารถส่งตัวยาเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยไม่ต้องใช้เข็ม ไม่ต้องจิ้มให้เจ็บเลือดไหลอีกต่อไป ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าหลุดออกมาจากหนังเรื่อง Star Trek: The Motion picture ที่ออกฉายตั้งแต่ปี 1979 แล้วทั้งนั้น
The Truman Show (1998)
The Truman Show (1998) |
สิ่งที่กลายเป็นจริง: รายการเรียลลิตีทีวี
รายการเรียลลิตีทีวีชื่อดังที่มีฉายในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกรวมทั้งในไทย อย่างรายการบิ๊กบราเธอร์ ออกฉายเป็นครั้งแรกในเวลาแค่เพียงหนึ่งปีหลังจากที่หนังเรื่อง The Truman Show เข้าโรงภาพยนตร์ จริงอยู่ที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นต้นกำเนิดของเรียลลิตี้ทีวี แต่มันก็ส่งผลสร้างแรงบันดาลใจให้มีการนำแนวคิดเกมเรียลลิตีโชว์มาออกฉายจริง จนประสบความสำเร็จได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และสามารถจับจองพื้นที่บนผังรายการทีวีทั่วโลกได้แม้ในทุกวันนี้
รายการเรียลลิตีทีวีชื่อดังที่มีฉายในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกรวมทั้งในไทย อย่างรายการบิ๊กบราเธอร์ ออกฉายเป็นครั้งแรกในเวลาแค่เพียงหนึ่งปีหลังจากที่หนังเรื่อง The Truman Show เข้าโรงภาพยนตร์ จริงอยู่ที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นต้นกำเนิดของเรียลลิตี้ทีวี แต่มันก็ส่งผลสร้างแรงบันดาลใจให้มีการนำแนวคิดเกมเรียลลิตีโชว์มาออกฉายจริง จนประสบความสำเร็จได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และสามารถจับจองพื้นที่บนผังรายการทีวีทั่วโลกได้แม้ในทุกวันนี้
Short Circuit (1986)
Short Circuit (1986) |
สิ่งที่กลายเป็นจริง: หุ่นยนต์ทหาร
Johnny 5 อาจจะมีชีวิตจริง ๆ หรือเปล่าไม่รู้ แต่ที่แน่ ๆ คือมันเป็นตัวแทนของโลกแห่งอนาคตทางการทหาร ทุกวันนี้ประเทศมหาอำนาจมีกองยานโดรนบังคับที่สามารถใช้ให้ไปทิ้งระเบิดถล่มศัตรูกันได้ทั้งนั้น แม้หุ่นที่มีอยู่จริงอาจจะยังไม่อาจเต้นรำกับสาว, ร้องเพลงแร็พ หรือเล่นมุขฮา ๆ ได้ แต่ดีไซน์การออกแบบพื้นฐานของหุ่นยนต์จากในหนัง ก็ค่อนข้างแม่นยำเมื่อเทียบกับหุ่นในความเป็นจริงเสียน่าทึ่ง
Johnny 5 อาจจะมีชีวิตจริง ๆ หรือเปล่าไม่รู้ แต่ที่แน่ ๆ คือมันเป็นตัวแทนของโลกแห่งอนาคตทางการทหาร ทุกวันนี้ประเทศมหาอำนาจมีกองยานโดรนบังคับที่สามารถใช้ให้ไปทิ้งระเบิดถล่มศัตรูกันได้ทั้งนั้น แม้หุ่นที่มีอยู่จริงอาจจะยังไม่อาจเต้นรำกับสาว, ร้องเพลงแร็พ หรือเล่นมุขฮา ๆ ได้ แต่ดีไซน์การออกแบบพื้นฐานของหุ่นยนต์จากในหนัง ก็ค่อนข้างแม่นยำเมื่อเทียบกับหุ่นในความเป็นจริงเสียน่าทึ่ง
Minority Report (2002)
Minority Report (2002) |
สิ่งที่กลายเป็นจริง: คอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส, ซอฟท์แวร์คำนวณความเป็นไปได้ของอาชญากรรม, ป้ายโฆษณาดิจิตอล
ผู้กำกับคนดัง Steven Spielberg ถึงกับต้องจ้างกองทัพนักอนาคตศาสตร์เพื่อมาช่วยเขาออกแบบโลกอนาคตยุคปี 2054 ในผลงานหนังดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Philip K. Dick เรื่อง Minority Report ทศวรรษต่อมาหนังเรื่องดังกล่าวก็ยังคงแสดงความล้ำหน้าและสามารถคาดเดาเทคโนโลยีในโลกอนาคตได้จริง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยระบบสัมผัสที่กลายมาเป็นเรื่องสามัญธรรมดา, ป้ายโฆษณาดิจิตอลอัจฉริยะในญี่ปุ่นที่สามารถคาดเดาเพศของผู้ที่มองป้ายได้แม้จะยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลอง รวมไปถึงระบบซอฟท์แวร์สุดล้ำของตำรวจจากในหนังที่สามารถคาดเดาอนาคตได้ก็ใกล้ความเป็นจริงมากเข้าไปขึ้นทุกที ๆ ด้วยซอฟท์แวร์สุดซับซ้อนที่ใช้ระบบฟิสิกส์และฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลเพื่อพยายามประมวลผลหาตำแหน่งและเวลาที่อาจจะเกิดอาชญากรรมขึ้นมาได้ล่วงหน้า
ผู้กำกับคนดัง Steven Spielberg ถึงกับต้องจ้างกองทัพนักอนาคตศาสตร์เพื่อมาช่วยเขาออกแบบโลกอนาคตยุคปี 2054 ในผลงานหนังดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Philip K. Dick เรื่อง Minority Report ทศวรรษต่อมาหนังเรื่องดังกล่าวก็ยังคงแสดงความล้ำหน้าและสามารถคาดเดาเทคโนโลยีในโลกอนาคตได้จริง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยระบบสัมผัสที่กลายมาเป็นเรื่องสามัญธรรมดา, ป้ายโฆษณาดิจิตอลอัจฉริยะในญี่ปุ่นที่สามารถคาดเดาเพศของผู้ที่มองป้ายได้แม้จะยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลอง รวมไปถึงระบบซอฟท์แวร์สุดล้ำของตำรวจจากในหนังที่สามารถคาดเดาอนาคตได้ก็ใกล้ความเป็นจริงมากเข้าไปขึ้นทุกที ๆ ด้วยซอฟท์แวร์สุดซับซ้อนที่ใช้ระบบฟิสิกส์และฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลเพื่อพยายามประมวลผลหาตำแหน่งและเวลาที่อาจจะเกิดอาชญากรรมขึ้นมาได้ล่วงหน้า
Woman in the Moon (1929)
Woman in the Moon (1929) |
สิ่งที่กลายเป็นจริง: การเดินทางในอวกาศ
หนังเรื่องนี้ลงโรงฉายก่อนที่องค์การนาซาจะเริ่มคิดอยากส่งคนขึ้นสู่ห้วงอวกาศนานเป็นทศวรรษ ถือได้ว่าภาพยนตร์สัญชาติเยอรมนีเรื่องนี้เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในการคาดการณ์วิธีการเดินทางในอวกาศ ต้องขอขอบคุณนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดตัวจริงซึ่งได้มีส่วนช่วยในการสร้างหนังเรื่องนี้ จากในหนังมีการกล่าวถึงพื้นฐานของการท่องอวกาศด้วยจรวดที่สามารถแบ่งส่วนได้หลายขั้น, การใช้เชื้อเพลิงเหลวเพื่อหนีแรงโน้มถ่วงโลก ฯลฯ ซึ่งกลายมาเป็นความจริงในโครงการจรวดอะพอลโล แล้วในหนังยังแสดงภาพถึงเจ้าหน้าที่ในศูนย์ควบคุมที่มีขั้นตอนการนับถอยหลังจาก 10 ถึง 0 ก่อนปล่อยยาน ซึ่งกลายมาเป็นขั้นตอนมาตรฐานของการปล่อยยานอวกาศจวบจนทุกวันนี้
หนังเรื่องนี้ลงโรงฉายก่อนที่องค์การนาซาจะเริ่มคิดอยากส่งคนขึ้นสู่ห้วงอวกาศนานเป็นทศวรรษ ถือได้ว่าภาพยนตร์สัญชาติเยอรมนีเรื่องนี้เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในการคาดการณ์วิธีการเดินทางในอวกาศ ต้องขอขอบคุณนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดตัวจริงซึ่งได้มีส่วนช่วยในการสร้างหนังเรื่องนี้ จากในหนังมีการกล่าวถึงพื้นฐานของการท่องอวกาศด้วยจรวดที่สามารถแบ่งส่วนได้หลายขั้น, การใช้เชื้อเพลิงเหลวเพื่อหนีแรงโน้มถ่วงโลก ฯลฯ ซึ่งกลายมาเป็นความจริงในโครงการจรวดอะพอลโล แล้วในหนังยังแสดงภาพถึงเจ้าหน้าที่ในศูนย์ควบคุมที่มีขั้นตอนการนับถอยหลังจาก 10 ถึง 0 ก่อนปล่อยยาน ซึ่งกลายมาเป็นขั้นตอนมาตรฐานของการปล่อยยานอวกาศจวบจนทุกวันนี้
Back to the Future Part II (1989)
Back to the Future Part II (1989) |
สิ่งที่กลายเป็นจริง: เกมคอมพิวเตอร์ยุคใหม่, ทีวีจอแบน, เชือกรองเท้าผูกเองได้
โอเค เราอาจจะยังไม่ได้มียานพาหนะทะลุมิติเวลาแบบในหนังเรื่อง Back to the Future แต่ระหว่างการเดินทางสุดแฟนตาซีของตัวละคร Marty McFly ก็ได้แสดงถึงความแม่นยำในการทำนายอนาคตไว้หลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทีวีจอแบนติดผนัง, เครื่องเกมที่มีวิธีการควบคุมคล้าย ๆ กับ Kinect ของเครื่อง Xbox ในปัจจุบัน แล้วก็มีผลงานรองเท้า Nike รุ่น Air McFly ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรองเท้าของตัวละครในหนังเรื่องนี้โดยตรง แถมยังมีการจดลิขสิทธิ์ระบบเชือกรองเท้าผูกเองได้โดยอัตโนมัติไปเมื่อปี 2011 ด้วย
โอเค เราอาจจะยังไม่ได้มียานพาหนะทะลุมิติเวลาแบบในหนังเรื่อง Back to the Future แต่ระหว่างการเดินทางสุดแฟนตาซีของตัวละคร Marty McFly ก็ได้แสดงถึงความแม่นยำในการทำนายอนาคตไว้หลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทีวีจอแบนติดผนัง, เครื่องเกมที่มีวิธีการควบคุมคล้าย ๆ กับ Kinect ของเครื่อง Xbox ในปัจจุบัน แล้วก็มีผลงานรองเท้า Nike รุ่น Air McFly ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรองเท้าของตัวละครในหนังเรื่องนี้โดยตรง แถมยังมีการจดลิขสิทธิ์ระบบเชือกรองเท้าผูกเองได้โดยอัตโนมัติไปเมื่อปี 2011 ด้วย
2001: A Space Odyssey (1968)
2001: A Space Odyssey (1968) |
สิ่งที่กลายเป็นจริง: การท่องเที่ยวในอวกาศ, หนังสือพิมพ์ออนไลน์, iPad, ทีวีส่วนตัวบนเครื่องบิน, สถานีอวกาศ
ผู้กำกับ Stanley Kubrick รับหน้าที่ควบคุมทุกขั้นตอนการสร้างหนังมหากาพย์อวกาศรางวัลออสการ์เรื่องนี้ด้วยตัวเองอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าทุกรายละเอียดของหนังจะได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างยอดเยี่ยมใกล้เคียงผลงานหนังสือต้นฉบับในชื่อเดียวกันของ Arthur C. Clarke ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ช่วงปีที่เกิดเรื่องในหนังจะเร็วกว่าความเป็นจริงไปเยอะก็ตาม แต่ก็อาจจะถือได้ว่าเป็นเพียงจุดเดียวที่หนังเรื่องนี้คาดเดาพลาดไป เพราะในทุกวันนี้การท่องเที่ยวในอวกาศเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ยังต้องรอวันที่ทัวร์อวกาศจะมีความหลากหลายและมีราคาที่จับต้องได้มากกว่านี้ แต่หลาย ๆ สิ่งที่อยู่ในหนังอย่างเช่น โทรศัพท์แบบเห็นหน้า, หนังสือพิมพ์ออนไลน์, อุปกรณ์หน้าตาคล้าย iPad, สถานีอวกาศนานาชาติ ก็กลายเป็นของจริงแล้วในปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่หนังสร้างถูกขึ้นมาแล้วนานเกือบครึ่งศตวรรษ
ผู้กำกับ Stanley Kubrick รับหน้าที่ควบคุมทุกขั้นตอนการสร้างหนังมหากาพย์อวกาศรางวัลออสการ์เรื่องนี้ด้วยตัวเองอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าทุกรายละเอียดของหนังจะได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างยอดเยี่ยมใกล้เคียงผลงานหนังสือต้นฉบับในชื่อเดียวกันของ Arthur C. Clarke ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ช่วงปีที่เกิดเรื่องในหนังจะเร็วกว่าความเป็นจริงไปเยอะก็ตาม แต่ก็อาจจะถือได้ว่าเป็นเพียงจุดเดียวที่หนังเรื่องนี้คาดเดาพลาดไป เพราะในทุกวันนี้การท่องเที่ยวในอวกาศเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ยังต้องรอวันที่ทัวร์อวกาศจะมีความหลากหลายและมีราคาที่จับต้องได้มากกว่านี้ แต่หลาย ๆ สิ่งที่อยู่ในหนังอย่างเช่น โทรศัพท์แบบเห็นหน้า, หนังสือพิมพ์ออนไลน์, อุปกรณ์หน้าตาคล้าย iPad, สถานีอวกาศนานาชาติ ก็กลายเป็นของจริงแล้วในปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่หนังสร้างถูกขึ้นมาแล้วนานเกือบครึ่งศตวรรษ
Source : msn