gmgolf2

รู้จักกับทีวีแบบต่างๆ เลือกทีวีแบบไหนดี? แบบไหนดูทีวีดิจิตอลได้?

รู้จักกับทีวีแบบต่างๆ เลือกทีวีแบบไหนดี? แบบไหนดูทีวีดิจิตอลได้?


ดูทีวีดิจิตอล ซื้อทีวีแบบไหนดี LCD,LED หรือ Plasma


จะซื้อทีวี LCD, LED หรือ Plasma

ถึงวันนี้หลายๆคนที่กำลังรอลุ้นกับทีวีดิจิตอลว่าจะมีหลากหลายช่องมาให้ดูเพิ่มมากกว่าเดิมโดยไม่ต้องซ์้อจานดาวเทียม รอถึงวันที่ ทีวีดิจิตอลออกอากาศจริงๆจังๆ ก็กะว่าจะหาซื้อทีวีเครื่องใหม่ที่มาพร้อมกับ DVB-T2 จูนเนอร์ในตัว หากไปด้อมๆมองๆตามร้านขายทีวีจะเห็นว่าจอ LED ราคาจะสูงกว่า LCD ส่วนจอ พลาสมายังพอมีขายแต่ถูกกว่าสมัย 7 หรือ 8 ปีที่แล้วเยอะมาก พนักงานก็มาเชียร์ว่าอย่างโน้นดีกว่าอย่างนี้ อย่างนี้ดีกว่าอย่างนั้น จะตัดสินใจซื้อแบบไหนดี
เราจะพบว่าในแง่ข้อมูลทางเทคนิคแล้ว ทางผู้ผลิตไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์อะไรมาก เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปมากในหลากหลายด้าน แค่เรื่องการทำงานของหน้าจอเรื่องเดียวก็คงต้องแจกใบปลิวกันเป็นกองพะเนิน ไม่รวมถึงการที่จะต้องอธิบายถึงระบบเสียง ระบบการทำงานของจอสามมิติ สารพัดเทคโนโลยี ทำให้ผู้ผลิตอาศัยขายรูปร่างหน้าตาของตัวสินค้าเสียมากกว่า หากลูกค้าอยากถามอะไรก็ให้คนขายอธิบายเองแล้วกัน ซึ่งพนักงานขายเองความรู้ก็อาจจะยังไม่ถึงขั้น วันไหนท่านผ่านร้านขายทีวีแล้วลองถามพนักงานขายดูซะครับว่า LCD กับ LED มันทำงานต่างกันอย่างไร เชื่อขนมกินได้เลยว่าพนักงานต้องอึ้งไปซักพักแล้วอาจจะตอบมาว่า LED ชัดกว่า อ้าวเป็นงั้นไป
เราเลยจะพบว่าพนักงานขายมุ่งแต่จะเชียร์สินค้าที่อาจจะได้ค่าคอมสูง หรือไม่ถ้าบริษัทส่งมาประจำตามห้างก็จะเชียร์ยี่ห้อของตัวเอง อย่าถามเลยเรื่องเทคนิค เขาตอบไม่ได้ ตกลงจะทำอย่างไรกันละเนี่ย

ทีวีที่ไม่ควรจะซื้อมาใช้แล้วแม้จะถูกแสนถูก

ทีวีที่ว่านั้นยังเห็นมีวางขายอยู่ตามห้างใหญ่ๆ เป็นระบบอนาลอกจอแก้วหรือทางเทคนิคเรียกว่า CRT เป็นทีวีหลอดภาพซึ่งเทคโนโลยีมาถึงจุดจบของมันแล้วเหมือนเครื่องเล่นวีดีโอใช้เทปที่แทบหาซื้อไม่ได้แล้วในปัจจุบันยกเว้นทางอินเตอร์เน็ต ทีวีแบบนี้จะมีน้ำหนักมาก จอจะไม่ค่อยแบน แต่ให้แสงสว่างออกมาดี พร้อมมุมมองที่กว้างกว่าจอ LCD ที่ออกมาในช่วงแรกๆ
แต่ก็นั่นแหละท่านจะซื้อมาวางให้หนักบนโต้ะทำไม จะแขวนผนังก็ยุ่งยากต้องมีโครงเหล็กหุ้มที่รับน้ำหนักได้เยอะๆ และคงเหมาะกับการที่มีราคาอยู่ในหลักต่ำกว่า 5000 และกรณีที่ต้องวางทีวีไว้ในสถานที่ๆเสี่ยงต่อการถูกขโมยเท่านั้น
ระบบของทีวีเหล่านี้แม้บางรุ่นอาจจะเป็นดิจิตอลก็จริงแต่ระบบรับสัญญาณจากเสาอากาศยังเป็นระบบอนาลอกอยู่ ซื้อทีวีเหล่านี้ก็ต้องซื้อกล่องเพิ่ม เปลืองสาย เปลืองช่องปลั้กอีกต่างหาก

ทีวีความคมชัดสูง

ปัจจุบันตามห้างร้านก็มีขายแต่ทีวีความคมชัดสูงแล้วทั้งนั้น เพราะราคาก็ไม่ได้แพงมากแล้วในตอนนี้ คาดกว่าทีวีความคมชัดธรรมดาคงจะหายไปจากตลาดในอีกไม่ช้า ยกเว้นรุ่นจอขนาดใหญ่ๆ ที่ทีวีความคมชัดสูงอาจจะยังแพงอยู่ และจากการที่ กสทช กำหนดว่าไทยเราจะมีทีวีความคมชัดสูงถึง 7 ช่อง ก็น่าจะกระตุ้นให้ประชาชนหาเครื่องรับที่มีความคมชัดสูงกันมาก

ทีวีแบบจอ Plasma

โทรทัศน์จอแบนในยุคแรกๆจะออกมาในลักษณะของจอแบบพลาสมา หลักการทำงานก็คล้ายๆกับไฟนีออน คือในแต่ละช่องการแสดงผลหรือพิกเซลจะมีก๊าซอยู่ข้างใน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านเข้ามาที่พิกเซลนั้นๆ ก็จะปล่อยแสงออกมา เราเรียกกระบวนการแตกตัวของอนุภาคและเปล่งแสงออกมาว่าเป็น plasma
ในแต่ละพิกเซลก็จะมีการแบ่งออกเป็นช่องย่อยเล็กๆเพื่อให้เกิดสีพื้นฐานสามสี และจะได้ผสมสีออกมาให้เป็นสีธรรมชาดได้ ภาพที่ออกมาจากแต่ละเซลจะมีความเข้มโดยการควบคุมเวลาที่ใช้ในการให้แสง เทคโนโลยีนี้นิยมกันมากเมื่อราว 10 ปีก่อนและมีราคาแพง เพราะจอ LCD สมัยโน้นยังไม่สามารถทำให้มีขนาดใหญ่ๆได้ (หรือทำได้แต่จะมีพิกเซลเสียเยอะ) โทรทัศน์แบบนีจะมีข้อเสียเรื่องแสงสะท้อนเพราะหน้าจอเป็นกระจกที่ต้องการความแข็งแรงที่จะกักเก็บก๊าซไว้ภายใน อีกทั้งน้ำหนักจะมากและจอมีความหนา และอาจจะเกิดสภาวะ Burned in คือมีเงาภาพถาวรหากเปิดภาพเดิมๆ ทิ้งไว้นานๆ
นอกจากนี้ยังเปลืองไฟมากว่าจอ LCD มาก แต่ข้อดีคืนในปัจจุบันราคาจะถูก และคิดว่าเริ่มจะหาซื้อยากแล้วเพราะ LCD, LED จะได้รับความนิยมมากกว่า

จอ LCD – Liquid Crystal Display

เป็นเทคโนโลยีผลึกเหลวทึบแสงที่ถูกประกบอยู่ระหว่างแผ่นฟิล์มบาง โดยผลึกเหลวจะทำหน้าที่เป็นเหมือนสวิทส์ปิดเปิดให้แสงผ่านไปตามการเรียงตัวของผลึกเมื่อมีสนามไฟฟ้ามาบังคับกับแต่ละพิกเซล แต่ละพิกเซลก็แบ่งย่อยเป็นสามส่วนเพื่อแสดงสีให้ได้ครบเช่นกัน จอ LCD สามารถให้ความละเอียดสูงแบบ HD (1920×1080) ได้ดี เทคโนโลยีทีวี LCD ได้รับความนิยมสูง สมัยก่อนที่ LCD ออกวางตลาดใหม่ๆ ก็ยังมีปัญหาเรื่องหน้าจอที่ผลิตจอใหญ่ไม่ได้ด้วยเช่นกัน แต่ปัจจุบันปัญหาเหล่านั้นไม่มีแล้ว
จุดอ่อนของ LCD ก็อยู่ตรงที่การทำสีดำสนิทได้ไม่ดีเนื่องจากมีสีด้านหลังที่ไม่สามารถบังคับได้ 100% สีจึงไม่ตัดกันเข้ม สูญเสียความคมชัดหากแสดงผลภาพที่มีการเคลื่อนไหวเร็วเช่นฉากรถแข่ง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นอีกมาก ทำให้สามารถแสดงภาพที่มีความคมชัดได้ดีกว่าในอดีต ไม่ปัญหาเรื่องภาพเบลอ และกินไฟน้อย ซึ่งจอแบบนี้ก็ยังมีวางขายอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน เพราะราคาก็ไม่แพงเกินไป

จอ LED

ถือเป็นเทคโนโลยีน้องใหม่และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เลยมีทีวีทั้งแบบ LED (Light Emitting Diodes) และ OLED (organic – LED)
ความจริงแล้วทีวี LED ก็คือทีวีแบบ LCD แต่เปลี่ยนมาเป็นการให้แสงด้านหลังจากหลอดไฟแบบ LED แทนที่จะเป็นหลอดไฟนีออนแบบเดิม ซึ่งหลอดไฟใหม่นี้จะเป็นหลอดเล็กๆกระจายไปทั่วทั้งแผงจอ และสามารถคุมความเข้มแสงได้ ภาพที่ได้จึงออกมาสดใสกว่าเดิม สีดำสนิท และความสว่างก็มากกว่า แถมจอยังบางกว่าอีกด้วย
ส่วนจอ OLED นั้นจะใช้แผ่นฟิล์มออร์แกนิคประกบอยู่ระหว่างวัสดุตัวนำที่เป็นขั้วบวกและลบ โมเลกุลบนแผ่นฟิล์มนี้จะมีคุณสมบัติเป็นตัวนำที่แปรค่าเปล่งแสงได้ ดังนั้นจึงมีลักษณะเหมือนสวิสเปิดปิดแสงที่ความเข้มต่างๆกันได้ ทำให้ไม่ต้องอาศัยแสงฉากหลังแล้วอาศัยผลึกเหลวเป็นตัวปรับระดับความสว่างอีกต่อไปเพราะ OLED นั้นแต่ละ pixel จะเปล่งแสงในตัวเอง จึงได้ภาพที่สว่างกว่า คอนทราสดีกว่าแบบ LED ธรรมดา มุมรับชมยังกว้างกว่าเพราะไม่ต้องมีความหนาของผลึกเหลว ไม่มีแสดงสะท้ดนหน้าจอ กินไฟน้อย เครื่องก็บางกว่าเบากว่าทีวีแบบอื่นๆ
แต่ปัญหาคือความสว่างจะลดลงเรื่อยๆตามอายุการใช้งาน ซึ่งประมาณกันว่าอายุใช้งานน่าจะประมาณ 5 ถึง 7 ปี อย่างไรก็ตามเป็นที่คาดกันว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีคงจะสามารถก้าวข้ามปัญหานี้ได้อีกในไม่ช้า

หากพูดถึงทีวีที่ขายในปัจจุบันนี้ มีหลายแบบมากๆ อาจแบ่งได้เป็นหมวดประเภทต่างๆ คือ


ประเภทจอ ซึ่งมีหลายแบบ เช่น CRT, LCD TV, LED TV, Plasma TV

จอ Crt (Cathode Ray Tubes) 

จอ Crt (Cathode Ray Tubes)    จอทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์ยุคเก่า จอโค้ง หลังตุง ใช้พื้นที่มาก   ให้กำลังความสว่างของจอมากๆ ถ้ามองนานๆอาจแสบตาได้  มีมุมมองกว้าง ใช้งานตั้งแต่ยุคทีวีขาวดำ จนถึงทีวีสี แต่ปัจจุบันกำลังเลิกเป็นที่นิยม เพราะใช้พื้นที่มาก กินไฟเยอะ และ เพื่อไปซื้อจอที่ถนอมสายตากว่า  ซึ่งปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายเช่น จอ LCD  , LED , Plasma TV


จอ LCD  (Liquid Crystal Display)


จอ LCD  (Liquid Crystal Display)  ใช้อย่างแพร่หลายมาก โดยแรกเริ่ม จอ LCD จะนิยมเป็นจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลิตแบบจอบาง ไม่มีแบบหลังตุงแล้ว  ระดับการแสดงผล ที่สบายตา  ประหยัดพื้นที่ และกินไฟน้อยด้วย แต่การแสดงดีใช่ว่าจะแสดงผลภาพ ได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะจอดำๆ จะเห็นบางอย่างที่แสงขาวสว่างอยู่  ชมได้องศาน้อยกว่า CRT  เวลามองข้างๆจะมองไม่ชัด หน้าเราต้องตรงกับหน้าจอเท่านั้น  แต่ตอนนี้ LCD เป็นมาตรฐานยอดนิยมของจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์ไปแล้ว

จอ Plasma TV

จอ Plasma TV  เป็นจอทีวีที่สามารถกำเนิดแสงได้เอง กล่าวคือ เพียงแค่ปล่อยแรงดันไฟเข้าไปกระตุ้นเม็ดพิกเซลก็จะส่องสว่างได้เอง  ภาพคมชัดกว่า LCD และการแสดงผลภาพ เร็วๆได้ดีกว่า  สามารถแสดงระดับพื้นสีดำได้ดีกว่า , มุมมองจอภาพที่กว้างกว่า LCD , การแสดงสีเป็นธรรมชาติ   แต่ข้อเสียคือกินไฟ  มีอาการ Burn In ได้ในบางช่วง และไม่สามารถชมทีวีชัดๆได้ในตอนเวลากลางวัน ต้องชมแบบที่มืดๆเวลากลางคืนเท่านั้น


LED TV (Light Emitting Diode)

LED TV (Light Emitting Diode) ออกมาทดแทนเทคโนโลยี LCD เป็นหลอดไฟขนาดจิ๋ว 3 สีคือ แดง เขียวและน้ำเงิน และแค่ 1 หลอดก็สามารถเปล่งแสงสีได้มากมายตามการผสมสีของแม่สีทั้งสาม ซึ่งเจ้าหลอด LED นี้มีคุณสมบัติพิเศษก็คือกินไฟน้อย แต่กลับให้สีสันที่ชัดเจนมีความสว่างสูง ให้สีดำที่ดำสนิท และมีอัตราการตอบสนองรวดเร็ว  ข้อเสียมีแค่อย่างเดียวคือราคาแพง แต่เรื่องราคาแพงแต่ได้ด้วยภาพคุณภาพสูง LED จึงได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดย LED แบ่งได้เป็น  3 ประเภทย่อยคือ



EDGE LED ลักษณะคือคือจะวางหลอด LED ไว้เฉพาะขอบจอเท่านั้น บน ล่าง ซ้าย ขวา เพื่อยิงแสงเข้ามายังกลางจอทีวี  จอจะมีความบางที่มากกว่า ทีวีจอบางทั่วๆ ไป และประหยัดไฟแน่นอน แต่การแสดงสีดำจะดำไม่สนิทเท่าไหร่



Full LED (Direct LED) หน้าจอทีวีจะมีหลอด LED วางอยู่เต็มแผงจอซึ่งจะให้ความคมชัด และความต่างสีของภาพจะเด็ดขาดกว่าแบบแรกเพราะสามารถทำ Local Dimming หรือการปิดสีแบบเป็นกลุ่มได้



RGB LED ปัจจุบัน LED ชนิดนี้จัดเป็นตัวท็อปของ LED เลยทีเดียว เพราะใช้หลอด LED แม่สีทั้ง 3 คือ RGB (แยก3หลอดๆ ละสี) มาเรียงๆ กันเป็นกลุ่ม ทำให้การแสดงผลภาพและสีชัดเจนมีมิติมากกว่าทุกแบบที่กล่าวมาและแน่นอนว่าแพงกว่าทุกแบบด้วยเช่นกันเนื่องจากต้นทุนที่สูงกว่า

หมวดประเภทคุณสมบัติทีวี ซึ่งเห็นชัดเจน 2 รูปแบบคือ  Smart TV กับ ทีวี 3มิติ
3D TV

ทีวี 3 มิติ 3D หรือ  3 Dimension คือทีวีที่สามารถเห็นในลักษณะมิติ “ตื้น ลึก หนา บาง ลอย” อย่างเห็นได้ชัดเจน   ถ้าเปรียบเทียบกับภาพ 2 มิติจากทีวีธรรมดาซึ่งเป็นภาพ “แบนๆติดจอ” แล้ว ความสมจริงของภาพ 3 มิตินั้นจะมีมากกกว่า ซึ่งประโยชน์ที่ได้ก็คือ  ความสมจริง และ อรรถรส ในการรับชมที่มากกว่า  เหมือนเรากำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการชมทีวี 3 มิติ นั่นคือ แว่นชมทีวี 3 มิติ   ข้อเสียคือ หากชมโดยไม่ใส่แว่นอาจทำให้เสียสายตาได้  และราคาสูงกว่าทีวีทั่วไป โดยรูปแบบการแสดงผลทีวีแบบ 3มิติ มี 3 แบบคือ




Anaglyphic 3D หรือ ภาพ 3 มิติแบบแว่น 2 สี (Passive) คือ ทีวีที่คุณสามารถชมภาพ 3มิติได้  ใช้แว่นสีน้ำเงิน แดง ที่เคยใช้ส่องกันในอดีต



Polarized 3D หรือ ภาพ 3 มิติแบบ “สลับเส้นเลขคู่เลขคี่” (3DPassive) ซึ่งหลักการทำงานของมันก็คือ เ ราจะต้องมี 3D TV แบบ Polarized และแว่นตาแบบ Polarized Glasses ซึ่งจะเห็นได้กับทีวีบางรุ่นที่เป็นแว่น3มิติแบบไม่ต้องใส่ถ่าน  และโรงหนัง IMAX ก็ใช้เทคโนโลยีนี้ในการฉายหนังด้วย



Frame Sequential 3D: ส่งเฟรมภาพซ้าย-ขวาสลับกัน (3D Active) ให้ภาพที่มีมิติ และคมชัดสูงเต็มอรรถรถ โดยแว่นสามมิตินั้นต้องใส่ถ่านเพื่อทำงานร่วมกับทีวี3มิติ  ที่แสดงผล 3D Active อย่างลงตัว


Smart TV หรือทีวีอัจฉริยะ

Smart TV หรือทีวีอัจฉริยะ คอนเซปก็คล้ายๆกับสมาร์ทโฟน ที่มีแอพพลิเคชั่นมากมาย ฟังก์ชั่นที่ให้มากกว่าการโทร ส่งข้อความ เป็นการผนวกความสามารถของทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ไว้ในจอเดียวกัน สามารถรับชมสิ่งๆต่างนอกเหนือจากทีวีได้ เช่น เล่นเกม , ดูวีดีโอ YouTube , โพส Facebook, Twitter ,  คุยกับเพื่อนผ่านทาง Skype , อ่านข่าวบนเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ผ่านทางทีวี  พร้อมๆกับการรับชมรายการโทรทัศน์ปกติ และบางรุ่นจะรองรับการแสดงภาพแบบ 3มิติได้ด้วย โดยทีวีนี้จะต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต  บ้างก็เรียก Smart TV เป็น Internet TV คาดว่า ทีวีแบบ สมาร์ททีวี ที่มาพร้อม 3มิติ นี้จะราคาแพงกว่าทีวีที่รองรับเฉพาะแสดงผล 3 มิติ หรือ มีแต่ Smart TV อย่างเดียว
ประเภทการรับสัญญาณโทรทัศน์

เปรียบเทียบความคมชัด Digital Tv กับ Analog

นอกจากปัจจัยเรื่องจอ และ การแสดงผลแล้ว ต้องมาคำนึงถึงระบบรับสัญญาณด้วย ซึ่งทีวีทั่วไปที่ตอนนี้รับสัญญาณกันคือ ระบบ Analogue แต่อีกไม่นานเรากำลังเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Digital TV  แล้ว โดยประเทศไทยจะใช้  ระบบDVB-T2 อันเป็นมาตรฐานใหม่ที่พัฒนามาจากแบบเดิม DVB-T  ซึ่ง ทีวี ที่บอกว่าเป็น digital ทั้งหลายที่ขายมาก่อนหน้านี้ รวมถึงที่อยู่ที่บ้านของคุณผู้ชมด้วย ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนละมาตรฐานกับ Digital TV ของไทย ที่กำลังจะประมูล



มีข่าวดีบ้างสำหรับผู้ที่คิดจะซื้อทีวีใหม่ เพราะเริ่มเห็นทีวีรุ่นใหม่ๆที่รองรับ DVB-T2 กันแล้วจาก 4  ยี่ห้อหลัก….



แต่ถ้าคุณยังใช้ทีวีแบบเดิมต่อไป ซึ่งไม่รองรับ DVB-T2 ก็ไม่ใช่ปัญหา   เพราะเราสามารถเอาทีวีเครื่องเก่า ไม่ว่าจะแบบใด มาต่อเข้ากับ Set Top Box กล่องรับสัญญาณที่รองรับ DVB-T2  เพื่อรับชม Digital TV ได้ ส่วนใครที่ติดทีวีดาวเทียม ก็ยังสามารถรับชมได้ตามปกติ เคเบิ้ลด้วยก็เช่นกัน ยกเว้น ผู้ที่ติดเสาก้างปลา อาจต้องหันมาซื้อ กล่อง Set Top Box ที่ว่านี้มาใช้

Related

Technology 4461145669976800885

Post a Comment Default Comments

emo-but-icon

Follow Us

.

Recent

Hot in week

Popular

Connect Us

Recommend us on Google!
Instagram

Subscribe

Subscribe via RSS Feed If you enjoyed this article just click here, or subscribe to receive more great content just like it.
item