5 เทคโนโลยีไอทีเริ่ดเจิดจรัสในปี 57
https://outdoclub.blogspot.com/2014/01/5TechHot2014.html
5 เทคโนโลยีไอทีเริ่ดเจิดจรัสในปี 57
งานแสดงเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ CES ที่จัดขึ้น ณ เมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเทคโนโลยีในปีนี้กล่าวขานกันว่า โทรทัศน์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น นาฬิกาจะมีฟังก์ชันการทำงานเพิ่มและน่าดึงดูดมากขึ้น และจะมีการเชื่อมต่อของบ้านและรถสู่โลกดิจิตอลมากขึ้นด้วย...
หลายคนต่างคาดหวังถึงเทคโนโลยีล้ำๆ แบบโลกอนาคตของบริษัทยักษ์ใหญ่หลายค่ายที่จะมาจัดแสดงในงานนี้ สำหรับบริษัทที่มีขนาดเล็กลงมาหน่อยก็จะเป็นบูธสีสัน ประดับประดาด้วยหุ่นยนต์ แก็ดเจ็ทและไอเท็มน่ารักๆ ที่ใช้กับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน แต่สิ่งที่หลายคนตั้งตารอกันเป็นอย่างมากว่าจะเป็นเทคโนโลยีแห่งปีมีอยู่ด้วยกัน 5 ประเภท
1. เทคโนโลยีแบบสวมใส่ได้ (Wearable Computers)
ปีนี้หลายบริษัทใหญ่พยายามพัฒนาเทคโนโลยีแบบสวมใส่นี้ให้เป็นที่ตอบรับของกระแสหลักมากขึ้น หลังผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาตลอดช่วง 1 ปีที่แล้ว อย่างอุปกรณ์ที่ถูกเลือกให้เป็นพระเอกของเทคโนโลยีชนิดนี้คือ สมาร์ทวอทช์ หรือนาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ ซึ่งสมาร์ทวอทช์ตัวล่าสุดที่ออกโดยซัมซุงนั้นถือว่ายังมีประสิทธิภาพได้ไม่เต็มร้อย บวกกับดีไซน์ที่ยังดูขาดๆ เกินๆ
ด้านกูเกิลที่ออก กูเกิลกลาส มาก็ยังคงอยู่ในขั้นทดลองใช้ และมีปัญหาด้านชื่อเสียงต้องตามให้แก้กันวุ่นวาย เทคโนโลยีแบบสวมใส่ที่มีแผลน้อยที่สุดเห็นจะเป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย หรือ ฟิตเนสเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น ฟิตบิท ที่สามารจตรวจจับการเคลื่อนไหวของเรา และคำนวณแคลอรี่และสถิติการออกกำลังกายต่างๆ ให้ แถมยังเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยเหลือทางการแพทย์ คอยดูแลสุขภาพและสามารถเชื่อมต่อข้อมูลการรักษาสำหรับแพทย์และคนไข้ทางไกลได้เช่นกัน แต่สำหรับฟิตเนสเทคโนโลยีเองก็ยังมีโจทย์สำคัญให้ต้องกลับไปขบคิด นั่นคือดีไซน์ของอุปกรณ์ที่อาจต้องปรับปรุงให้ทันสมัย ดูเป็นแฟชั่นเพื่อตีตลาดกระแสหลักโดยเฉพาะกระแสของผู้หญิงด้วย
สายรัดข้อมือ ฟิทบิท เฟล็กซ์ สามารถตรวจจับทุกย่างก้าวการเดิน คำนวณระยะทาง แคลอรี่ที่ถูกเผาผลาญ และเวลานอนหลับได้ ราคา 99 เหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 3,200 บาท |
2. บ้านแสนรู้ (Smart Home)
การทำให้โทรศัพท์มือถือหรือนาฬิกาข้อมือกลายเป็นเทคโนโลยีได้นั้น ยังไม่นับว่าเพียงพอสำหรับโลกยุคดิจิตอลในปัจจุบัน บ้านที่เราอยู่อาศัยกันก็ต้องมีส่วมร่วมกับโลกแห่งอนาคตนี้ด้วย มีการออกคำโฆษณาชวนเชื่อว่าจะทำ สมาร์ทโฮม บ้านที่ประหยัดพลังงานและสามารถควบคุมได้โดยสมาร์ทโฟนมานานนับปีแล้ว แต่ในอุตสาหกรรมการผลิตก็ยังคงแก้ไม่ตกว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นมี การเชื่อมต่อสื่อสารกันได้อย่างหลากหลายและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมี โฮมแก็ดเจ็ท ล้ำๆแต่ปราศจากความปลอดภัยออกมาเรียกน้ำย่อยกันหลายตัวอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เนสท์ เทอร์โมสแตท หรืออุปกรณ์ปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศและฮีทเตอร์อัตโนมัติ รวมถึงอุปกรณ์ปิด-เปิดไฟทางไกล แต่ก็เป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่าาคนปกติทั่วไปจะอยากเดินสายไวร์เลสไว้ทั่วบ้าน เพียงเพื่อปรับแอร์หรือหรี่ไฟทางไกลหรือเปล่า ดังนั้นการสร้างบ้านให้เป็นคนนั้นจึงเป็นก้าวใหม่ที่ยากลำบากสำหรับบริษัท เทคโนโลยีทั้งหลาย
แอพพลิเคชั่น ล็อกคิทรอน สามารถใช้สมาร์ทโฟนในการเปิดประตูได้ |
โทรทัศน์นั้นกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในชีวิตของคนในยุคนี้ไปแล้ว ซึ่งบริษัทผลิตโทรทัศน์แถวหน้าอย่าง โซนี่ ซัมซุง แอลจี และชาร์ป ต่างพากันอัพไซส์ ขยายหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น ปรับความคมชัดถึงขีดสุด รวมถึงสีสันที่ฉูดฉาดบาดตาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน มีลูกเล่นครบเครื่องทั้งดีไซน์โค้งแบน และระบบเสียงคุณภาพหรูในตัวเครื่อง ในปีที่แล้วเหล่าโทรทัศน์ดิจิตอลได้ออกมาตรฐานใหม่ของความละเอียดจอภาพและคอนเทนท์ที่เรียกว่า 4K และในปีนี้กูเกิลก็ออกมาประกาศว่าจะปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีการนำตัวอย่างมาทดลองแสดงในงาน CES สัปดาห์หน้านี้ด้วย สำหรับเทรนด์อื่นๆ ของโทรทัศน์ก็จะเป็นพวกจอแสดงผลแบบ OLED (เป็นจอภาพที่มีลักษณะคล้ายแผ่นฟิล์ม มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ที่สามารถเปล่งแสงได้เองเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ต้องพึ่งแสง แบล็กไลต์ เหมือนโทรทัศน์รุ่นก่อนๆ) อินเทอร์เน็ตทีวี และการใช้อุปกรณ์ไวแสงหรือเซ็นเซอร์ในการสั่งการโทรทัศน์ รมไปถึงโทรทัศน์ 3มิติ ที่เป็นที่ฮือฮาอยู่พักหนึ่งด้วย
UHD TV |
4. รถยนต์แห่งโลกอนาคต (Smart Cars)
การขับขี่ยานพาหนะกับสมาร์ทโฟนนั้นฟังแล้วอาจดูเหมือนเป็นคู่ที่ไปด้วยกันไม่ได้ แต่บริษัทรถยนต์ต่างๆ กำลังระดมสมองพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งนี้ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด แม้การจัดแสดงรถยนต์ประจำปีของดีทรอยต์จะยังไม่เริ่มจนกว่าจะถึงปลายเดือนมกราคม แต่เทคโนโลยีภายในรถยนต์จะถูกนำมาจัดแสดงอย่างล้นหลามในงาน CES แห่งนี้ การผลิตรถยนต์ในรูปแบบดีไซน์ใหม่ๆ นั้นใช้เวลานานกว่าเทคโนโลยีกลุ่ม สมาร์ทโฟน แท็บเล็ท และคอมพิวเตอร์มากนัก ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่เทคโนโลยีต่างๆ ที่ติดมากับรถยนต์ ตกเทรนด์ไปในทันทีที่มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นนั้นๆ บริษัทผลิตรถยนต์จึงพยายามพัฒนาระบบการดำเนินการประเภท แอนดรอยด์ และ iOS ให้สามารถอัพเดตตัวเองได้ พร้อมทั้งหาวิธีให้ผู้ขับขี่สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องละสาตาที่จับจ้องอยู่บนท้องถนน อีกนัยหนึ่ง รถยนต์นี้ก็เป็นขีดจำกัดใหม่ที่ท้าทายระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง แอปเปิล และกูเกิล ที่พากันสร้างคะแนนนิยมผ่านอุปกรณ์ไฮเทคในรถยนต์ยี่ห้อหรูอย่าง ออดี้ที่จะประกาศจับมือกับกูเกิลในการเอาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ไว้ในรถยนต์อย่างเป็นทางการสัปดาห์หน้า
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเล็กๆ น้อยๆ เหล่าก็ถือเป็นเพียงขนมหวานสำหรับสมาร์ทคาร์เท่านั้น เพราะอาหารจานหลักนั้นอยู่ที่การสร้างรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองอย่างปลอดภัย ซึ่งบริษัทรถยนต์ชั้นนำ บริษัทเทคโนโลยีแถวหน้า และมหาวิทยาลัยต่างแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้ให้เป็นจริงได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีอุปกรณ์ตรวจจับอุณหูมิและการเคลื่อนไหวอย่างเซ็นเซอร์ ที่คอยบันทึกและจดจำรูปแบบการขับรถ รวมถึงหยุดรถอัตโนมัติเมื่อติดไฟแดงหรือมีสิ่งกีดขวางที่ใกล้ตัวรถมากเกินไปออกมาให้ได้ใช้กันแล้ว
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของบีเอ็มดับเบิลยู รุ่น i3 ในงานแสดงรถยต์ที่แฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ปี 2556 |
5. เกมหรรษา
งาน CES อาจไม่ใช่งานแสดงสินค้าประเภทวิดีโอเกมที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์เกมชิ้นเล็กชิ้นน้อยบางอย่างเป็นสีสันอย่างดีที่ช่วยเสริมให้เทคโนโลยีดูน่าสนใจขึ้น ตลาดเกมในโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นตลาดธุรกิจขนาดยักษ์ จึงไม่แปลกที่จะมีการพัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างเกมเหล่านี้ให้เข้าใกล้โลกแห่งความจริงอย่างบลูทูธ เซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหว และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ล่าสุด วาล์ฟ บริษัทพัฒนาเกมสัญชาติอเมริกันได้ออกระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อว่า SteamOS ที่เหมาะสำหรับเกมที่เล่นผ่านระบบซื้อ-ขายเกมทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงสาวก Oculus Rift ชุดอุปกรณ์สวมศีรษะที่จะแสดงภาพในเกมให้เห็นเสมือนจริงเป็นต้น
เกมโมโนโพลียอดฮิตในแท็บเล็ตจากเลอโนโวในงาน CES ปีที่แล้ว. |